Skip to main content

เฟอร์นิเจอร์มาตรฐาน E1

E1 FURNITURE STANDARD


เฟอร์นิเจอร์มาตรฐาน E1
หลายคนคงเคยไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ ประเภทตู้เก็บเสื้อผ้า ชั้นวางทีวี ตู้เก็บรองเท้าและอื่นๆอีกมากมาย เคยมั้ยที่หลังจากซื้อมาแล้ว นำมาติดตั้งในห้อง พบว่ามีกลิ่นแสบตา แสบจมูก และเหม็นฉุน
สิ่งต่างๆเหล่านี้พบเห็นอยู่เป็นประจำ หลายคนแพ้กลิ่นเหม็นฉุน ทำให้มีอาการแสบจมูก จนทำให้ผมปวดศรีษะเป็นไมเกรน และอาเจียน กลิ่นเหม็นที่แสบจมูกนั้นมาจากเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นชนิดไม้อัดปิดผิว (ไม้อัดประเภท MDF(Medium Density Fibreborad หรือHDF (High Density Fibreboard)) หรือ Particle Board ไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด เคลือบผิวเมลามีน

Formaldehyde


มาตรฐาน E1 เป็นมาตรฐานจำกัดปริมาณของสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ระเหยออกมาจากไม้ (ในที่นี้หมายถึงทุกสิ่งที่มาจากชิ้นงานไม้ เศษไม้ หรือขี้เลื่อย) ถ้าเป็นไม้ MDF หรือ Particle Board จำกัดการระเหยของสารฟอร์มาลดีไฮด์ไม่เกิน 0.1 ppm หรือ 0.1 ส่วนในล้านส่วน มาตรฐาน E1 เป็นมาตรฐานการปล่อยสารฯระดับที่ต่ำที่สุดหรือยัง คำตอบคือไม่ใช่ เพราะปัจจุบันสามารถผลิตเฟอร์นิเจอร์ทำได้ถึงระดับ Super E0 (0.04 ppm) หรือแม้แต่หลีกเลี่ยงไม่ให้มีสารฟอร์มาลดีไฮด์ก็สามารถทำได้

สารฟอร์มาลดีไฮด์มาจากไหน สามารถมาได้จาก2แหล่งคือไม้อัด PB (Particle Board) และอีกแหล่งคือมาจากสีเคลือบเฟอร์นิเจอร์
ไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ถ้าไม่ใช้ไม้จริง ก็จะใช้ไม้อัดประเภท PB (Particle Board) / MDF (Medium Density Fibreborad หรือ HDF (High Density Fibreboard) ความแตกต่างของไม้ทั้ง3ชนิดคือ ขนาดของเศษไม้และการใช้แรงดันอัดที่แตกต่างกัน โดยนำไม้มาสับหรือบดให้ละเอียด ผสมกับเรซิน เพื่อให้ไม้ยึดเกาะกัน แล้วนำไปผ่านความร้อนแล้วอัดเป็นแผ่น เรซินที่ใช้จะมีส่วนประกอบของสาร

Free formaldehyde

ฟอร์มาลดีไฮด์ ดังนั้นเมื่อไม้ที่ใช้เรซินชนิดนี้ ก็จะมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างอยู่จะตกค้างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ชนิดเรซิน เรซินที่ปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมา จะเป็นกลุ่มยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ เรซินเหล่านี้จะมีค่าสารฟอร์มาลดีใฮด์ตกค้างเราเรียกว่าฟรีฟอร์มาลดีไฮด์ (Free formaldehyde: FF )ถ้ามีค่าน้อยจะหมายถึงมีสารฟอร์มาลดีไฮด์ตกค้างน้อย มีหน่วยเป็น %

Amino Alkyd Or Acid Curing

ส่วนเรื่องสีที่ใช้ เคลือบเฟอร์นิเจอร์ ที่มีสารฟอร์มาลดีไฮด์ ได้แก่สีประเภทสีอบและ สีอะมิโนอัลคีดหรือแอซิดเคียวริ่ง (amino alkyd or acid curing) จากการสังเกตุพบว่าสีอบแทบไม่มีกลิ่นฟอร์มาลดีไฮด์เลยเนื่องจาก ส่วนมากสีอบจะใช้สารเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamin Formaldehyde:MF) ที่ปกติจะมีค่าการตกค้างของสารฟอร์มาลดีไฮด์ต่ำอยู่แล้ว และจากการอบอุณหภูมิสูงจึงทำให้สีแห้งสมบูรณ์ สารฟอร์มาลดีไฮด์จึงตกค้างอยู่น้อยมากๆ
หากได้รับฟอร์มาลินโดยรับประทานเข้าไป จะเกิดอาการปวดท้องมาก เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะไม่ออก อาจหมดสติ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเสียชีวิตเพราะระบบหมุนเลียนเลือดล้มเหลว

วิธีการรักษาเบื้องต้น ให้ดื่มนมมาก ๆ หรือรับประทานยาผงถ่าน (Activated Charcoal) หรือดื่มน้ำจำนวนมาก ๆ เพื่อเจือจางสารพิษ แต่ไม่ควรทำให้อาเจียนเด็ดขาด เพราะจะยิ่งระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร และอาจสำลักเข้าไปในปอดได้ ระหว่างที่นำส่งโรงพยาบาลถ้าผู้ป่วยช็อก เช่น ซีด ตัวเย็น ความดันเลือดต่ำ ควรนั่งยกเท้าสูง ผ่อนคลายเสื้อผ้าให้หายใจสะดวก ห่มผ้าให้อบอุ่น แต่ไม่ร้อนเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายมากขึ้น
มาตรฐาน E1 คือมาตรฐานที่ระบุว่า PB (Particle Board) จะมีปริมาณ ไอระเหยของฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde Emission) ไม่เกิน 0.1 ppm ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากจนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย วัสดุไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด PB (Particle Board) ของ Noble Furniture ได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานนี้โดยละเอียด ก่อนนำมาผลิต เฟอร์นิเจอร์ให้กับคุณลูกค้าทุกท่าน
ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก ภญ.สมสกุล ศิริไชย


Cr: http://www.nbdevelopment.co.th/noble-furniture/2017/02/21/e1-furniture-standard/

Comments